เมนู

ธรรมเครื่องอยู่อย่างเฉียด ๆ. บทว่า ธีรํ คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาเครื่อง
ทรงจำ. ในข้อนั้น ท่านกล่าวธิติสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่อง
ทรงจำ ด้วยความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน. แต่ในที่นี้ หมายความว่า ผู้
สมบูรณ์ด้วยธิติเท่านั้น. ความบากบั่นไม่ย่อหย่อน ชื่อว่า ธิติ. คำนี้เป็น
ชื่อของความเพียรซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ นหารุ จ จะเหลือ
แต่หนังและเอ็นก็ตาม ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีระ เพราะเกลียดชัง
บาป ดังนี้ก็มี บทว่า ราชาว รฏฺฐํ วิชิตฺ ปหาย ความว่า พึงละสหาย
ผู้เป็นพาลเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาตามปกติรู้ว่า แว่นแคว้นที่เรา
ชนะแล้ว นำอนัตถพินาศมาให้ จึงละราชสมบัติเที่ยวไปพระองค์เดียว
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ราชาว รฏฺฐํ นั้น มีความแม้ดังนี้ว่า
ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระเจ้าสุตโสม ทรงละแว่นแคว้นที่ชนะแล้ว
เที่ยวไปพระองค์เดียว และเหมือนพระเจ้ามหาชนกฉะนั้น. คำที่เหลือ
อาจรู้ได้ตามแนวที่กล่าวแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่ต้องกล่าวให้พิสดาร
ฉะนี้แล.
จบพรรณนาสหายคาถา

พรรณนาอัทธาปสังสาคาถา


เหตุเกิดคาถาว่า อทฺธา ปสํสาม ดังนี้เป็นต้น เหมือนกับเหตุเกิดขึ้น
แห่งจาตุททิสคาถา คราบเท่าที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่
ลาดไว้ในพื้นที่โล่งแจ้ง. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.

พระราชานี้ไม่ตกพระทัย เหมือนพระราชานั้นตกพระทัยถึง 3 ครั้ง
ในตอนกลางคืน. พระราชานี้มิได้ทรงเข้าไปตั้งยัญ พระองค์นิมนต์
ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ในพื้นที่โล่งแจ้ง
แล้วตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร ? พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทูลว่า มหาบพิตร พวกอาตมาชื่อว่าอนวัชชโภชี. พระราชาตรัสถาม
ว่า ท่านผู้เจริญ คำว่า อนวัชชโภชี นี้ มีความหมายว่าอย่างไร ?
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายทูลว่า มหาบพิตร พวกอาตมาได้ของดีหรือ
ไม่ดี ไม่มีอาการผิดแผกบริโภคได้. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงได้
มีพระดำริดังนี้ว่า ถ้ากระไร เราควรจะได้พิสูจน์ดูท่านเหล่านี้ว่า เป็นผู้
เช่นนี้หรือไม่. วันนั้น พระองค์จึงทรงอังคาสด้วยข้าวปลายเกรียน มีน้ำ
ผักดองเป็นที่สอง. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีอาการผิดแผก ฉัน
ข้าวปลายเกรียนนั้นดุจเป็นของอมฤต. พระราชาทรงพระดำริว่า ท่านเหล่า
นี้เป็นผู้ไม่มีอาการผิดแผกในวันเดียว เพราะปฏิญญาไว้ พรุ่งนี้ เราจักรู้อีก
จึงนิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้. แม้ในวันที่สอง ก็ได้ทรงกระทำเหมือน
อย่างนั้น. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ฉันเหมือนอย่างนั้น.
ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เราจักถวายของดีทดลองดู จึง
นิมนต์อีก ทรงทำมหาสักการะถึง 2 วัน วันอังคาสด้วยของเคี้ยวของ
ฉันอันประณีตวิจิตรยิ่ง. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็ไม่มีอาการผิด
แผก ฉันเหมือนอย่างนั้นแหละ กล่าวมงคลแก่พระราชาแล้วหลีกไป.
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นหลีกไปไม่นาน พระราชาทรงดำริว่า ท่าน
เหล่านี้เป็นอนวัชชโภชีมีปกติฉันหาโทษมิได้ โอหนอ ! แม้เราก็ควรเป็น

อนวัชชโภชีบ้าง จึงสละราชสมบัติใหญ่ สมาทานการบรรพชา เริ่ม
วิปัสสนาแล้ว ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อจะชี้แจงอารมณ์ของตน
ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ณ ควงต้นไม้สวรรค์ ได้กล่าว
คาถานี้. คาถานั้นโดยใจความของบทง่ายมาก แต่ในบทว่า สหายสมฺปทํ
นี้ สหายผู้เพียบพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้นอันเป็นอเสขะ พึงทราบว่าสหาย-
สัมปทาทั้งสิ้น.
ส่วนวาจาประกอบความในคำว่า สหายสมฺปทํ นี้ มีดังต่อไปนี้:-
เราสรรเสริญสหายสัมปทาที่กล่าวแล้วนั้นโดยแท้ อธิบายว่า เราชมเชยโดย
ส่วนเดียวเท่านั้น. สรรเสริญอย่างไร ? สรรเสริญว่า ควรคบหาสหายผู้
ประเสริฐกว่า หรือผู้เสมอกัน. เพราะเหตุไร ? เพราะเมื่อบุคคลคบหาผู้
ที่ประเสริฐกว่าด้วยคุณ มีศีลเป็นต้นของตน ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น
ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
เมื่อคบหาคนผู้เสมอกัน ธรรมที่ได้แล้วก็ไม่เสื่อม เพราะเสมอเท่ากัน
และกัน ทั้งเพราะบรรเทาความรำคาญใจเสียได้. ก็กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์
ไม่ได้สหายเหล่านั้นผู้ประเสริฐกว่าและเสมอกัน แล้วละมิจฉาชีพมีการ
หลอกลวงเป็นต้น บริโภคโภชนะที่เกิดขึ้นโดยธรรม โดยเสมอ และไม่
ทำความยินดียินร้ายให้เกิดขึ้นในโภชนะนั้น เป็นผู้มีปกติบริโภคโดยหา
โทษมิได้ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. แม้เราก็ประพฤติอยู่อย่าง
นี้ จึงได้บรรลุสมบัตินี้แล.
จบพรรณนาอัทธาปสังสาคาถา

พรรณนาสุวัณณวลยคาถา


คาถาว่า ทิสฺวา สุวณฺถเสฺส ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาในนครพาราณสีองค์หนึ่ง ได้เสด็จเข้าบรรทม
กลางวันในฤดูร้อน และนางวัณณทาสีในสำนักของพระราชานั้น กำลัง
บดจันทน์แดงอยู่ ที่แขนข้างหนึ่งของนางวัณณทาสีนั้น มีกำไลมือทองคำ
อันหนึ่ง ที่แขนอีกข้างหนึ่งมีสองอัน. กำไลทอง 2 อันนั้นกระทบกัน
กำไลทองอันเดียวนอกนั้น ไม่กระทบ (อะไร). พระราชาทรงเห็นดังนั้น
จึงดำริว่า ในเพราะการอยู่เป็นคณะอย่างนี้แหละ จึงมีการกระทบกัน
ในเพราะการอยู่โดดเดี่ยว จึงไม่มีการกระทบกัน แล้วทอดพระเนตรดู
นางทาสีบ่อย ๆ. ก็สมัยนั้น พระเทวีประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทุก
ชนิด ยืนถวายการพัดอยู่ พระเทวีนั้นทรงดำริว่า พระราชาเห็นจะมี
พระทัยปฏิพัทธ์นางวัณณทาสี จึงรับสั่งให้นางทาสีนั้นลุกขึ้น แล้วเริ่มบด
ด้วยพระองค์เอง. ก็ครั้งนั้น ที่พระพาหาทั้งสองของพระนางมีกำไลทองคำ
มิใช่น้อย กำไลทองเหล่านั้นกระทบกัน ทำให้เกิดเสียงดังลั่น. พระราชา
ทรงเบื่อระอายิ่งนัก จึงทรงบรรทมโดยพระปรัศว์เบื้องขวาเท่านั้น ทรง
เริ่มวิปัสสนาแล้วกระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ. พระเทวีถือจันทน์
เข้าไปหาพระราชานั้นผู้บรรทมสบายด้วยสุขอันยอดเยี่ยม แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราช พระองค์จงทรงลูบไล้. พระราชานั้นตรัสว่า จงหลีกไป
อย่าลูบไล้. พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันจะลูบไล้ให้แก่
ใคร. พระราชาตรัสว่า เราไม่ใช่พระราชา. อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟัง
ถ้อยคำปราศรัยของพระราชาและพระเทวีนั้นอย่างนั้น จึงพากันเข้าไปเฝ้า.
พระองค์ แม้อำมาตย์เหล่านั้นร้องทูลด้วยวาทะว่าพระราชา ก็ตรัสว่า